Last updated: 23 ส.ค. 2566 | 7961 จำนวนผู้เข้าชม |
ชื่อสมุนไพร คำฝอย
ชื่ออื่นๆ ดอกคำฝอย ,ดอยคำ(ภาคเหนือ) , คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ม (ลำปาง) , หงฮวา (จีนกลาง) ,อั่งฮวย (จันแต่จิ๋ว)
ชื่อสามัญ Safflower , False Saffron , Saffron Thistle
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius Linn
วงศ์ COMPOSITAE
ลักษณะของดอกคำฝอย
เป็นดอกไม้จากพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง นิยมปลูกทางภาคเหนือ เพาะปลูกกันมากในอ.พร้าว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และอ.พาน จ.เชียงราย ลำต้นสั้น ทนต่อสภาพอากาศ ดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเล็กเรียว และมีดอกเล็กย่อยออกมาหลายดอก ลักษณะคล้ายดอกดาวเรือง สีเหลืองจนไปถึงส้ม เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
ประโยขน์ของดอกคำฝอย
1. ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด
ข้อมูลโภชนาการ
แหล่งข้อมูลประกอบ: USDA
ปริมาณต่อ 100 g | |
แคลอรี (kcal) 884 | |
ไขมันทั้งหมด 100 g | |
ไขมันอิ่มตัว 8 g | ไขมันทรานส์ 0.1 g |
คอเลสเตอรอล 0 mg | |
โซเดียม 0 mg | |
คาร์โบไฮเดรต 0 g | |
เส้นใยอาหาร 0 g | น้ำตาล 0 g |
โปรตีน 0 g | |
วิตามินซี 0 mg | แคลเซียม 0 mg |
เหล็ก 0 mg | วิตามินดี 0 IU |
วิตามินบี6 0 mg | วิตามินบี12 0 µg |
แมกนีเซียม 0 mg |
เมื่อมีประโยชน์ก็ต้องมีโทษ
หากทานดอกคำฝอยมากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการโลหิตจางได้ ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หรืออาจทำให้โลหิตประจำเดือนมามากผิดปกติ
นอกจากนี้ใครที่กำลังรับประทานยา หรือรับการรักษาโรคที่เกี่ยวกับลิ่มเลือด หรือกำลังทานยาสลายลิ่มเลือดอยู่ ไม่ควรทานดอกคำฝอย เพราะจะยิ่งเพิ่มการสลายลิ่มเลือดให้ออกฤทธิ์มากเกินไปจนอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ที่มา : https://www.sanook.com/health/5577/
22 ธ.ค. 2565
21 เม.ย 2566